บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ขั้นตอนในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือการนำข้อมูลเข้า (Input Data) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอข้อมูล(Output Data) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ต้องทำงานต่อเนื่องกัน เราสามารถเรียกกรรมวิธีนี้ว่า “วงจรการประมวลผล” (Data Processing Cycle)
การนำข้อมูลเข้า (Input Data)
ขั้นนี้จัดเป็นขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมและสะดวก ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะนำไปประมวลผล ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ป้อนข้อมูลได้ (Input Devices) ซึ่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะนำเข้าผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector) ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า Port Port ของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญๆ ได้แก่ Serial Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละ 1บิต เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Serial Port ได้แก่ Mouse Parallel Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละหลาย เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Parallel Port ได้แก่ Printer Tape USB Port (Universal Serial Bus Port) เป็น Port ชนิดใหม่ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั้ง Serial และ Parallel Port
การประมวลผล (Processing)
เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลที่ถูกส่งมาทางอุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปทำการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ อาจเป็นการคำนวณทั่วๆ ไป คือการบวก การลบ การคูณ และการหาร, การเปรียบเทียบ, การจัดกลุ่มข้อมูล, การรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการประมวลผลก็คือตัว CPU ทุกครั้งที่ CPU ทำงานจะทำการรับคำสั่งจากหน่วยความจำเข้ามาแล้วทำการประมวลผลและเมื่อประมวลผลเสร็จแล้วจะส่งผลที่ได้กลับไปยังหน่วยความจำอีกครั้งหนึ่งเราเรียกว่า วัฏจักรของเครื่องหรือรอบของการทำงาน(Machine Cyecle)
การนำเสนอข้อมูล(Output Data)
เป็นขั้นตอนที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้ว โดยจะมีการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้อื่นทราบ โดยข้อมูลที่นำออกจากระบบคอมพิวเตอร์จะถูกส่งข้อมูลผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector) ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบของผลลัพธ์สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น รายงาน, กราฟ, ตาราง เป็นต้น นอกจากนี้ การนำเสนอข้อมูลยังรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวกลาง เช่น คู่สายโทรศัพท์ การส่งสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลออกมาทางหน้าจอของคอมพิวเตอร์ (Display Screen) หรือ มอนิเตอร์(Monitor) หรือเราอาจนำเสนอข้อมูลออกมาทางกระดาษ (Hard Copy) โดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer)

 

 

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

ในการจัดการข้อมูลจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล ลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้

บิต (Bit = Binary Digit)
เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1

ไบต์ (Byte)
เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร

ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง

เรคคอร์ด (Record)
เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก

ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้


ฐานข้อมูล (Database)
เกิดจากการรวบรวมเอาแฟ้มตารางข้อมูลหลายๆแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บรวมกันไว้ที่เดียว โดยจะมีการเก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ซึ่งจะใช้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บไว้ เป็นต้นว่า โครงสร้างของแต่ละตารางเป็นอย่างไร ประกอบด้วยฟีลด์อะไรบ้าง คุณลักษณะของแต่ละฟีลด์และความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้มเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นมากและจะถูกเรียกใช้ในระหว่างที่มีการประมวลผลฐานข้อมูลนั่นเอง

3.ให้ออกแบบแฟ้มข้อมูลจำนวน 1 แฟ้มข้อมูล โดยกำหนด Field และ Record ตามเหมาะสม

รหัสการสั่งสินค้า
วันที่สั่งสินค้า
รหัสสินค้า
ชื่อสินค้า
จำนวนสินค้าที่สั่ง
23045
02/03/98
1002
หนังสือ
10
23045
02/03/98
1005
CD-ROM
3
23046
15/03/98
1001
เสื้อกีฬา
11
23047
16/03/98
1002
หนังสือ
5
23047
16/03/98
1006
เทป
4
23048
17/03/98
1005
CD-ROM
24

 

4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทซ์และเรียลไทม์

1.การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing)การประมวลผลแบบแบทซ์นั้นเมื่อข้อมูลมาถึงคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกรวบรวมหรือเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำมาประมวลผล จะอาศัยระยะเวลาในการเก็บนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ หรืออาจจะเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาที่ได้กำหนดไว้ก็ได้


2.การประมวลผลแบบเวลาจริงหรือแบบเรียลไทม์ (Real-Time System) เป็นการประมวลผลที่คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลในทันทีที่มีข้อมูลเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์ และส่งผลลัพธ์จากการประมวลผลไปให้ผู้ใช้ในทันที ซึ่งการประมวลผลแบบนี้จะทำให้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจุบันเสมอ การประมวลผลแบบเวลาจริงนี้ระบบนำข้อมูลเข้า ระบบแสดงผลของคอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกันตลอดเวลา หากอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างไกลกันก็จะต้องมีเครือข่ายการสื่อสารเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นถูกส่งเข้ามายังคอมพิวเตอร์ทันที การะประมวลผลแบบนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น