วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Sofeware Hardware


1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องมือในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลลัพธ์ รวมทั้งอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ เช่น เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ ซีพียู ฯลฯ

 

1.1         ไมโครโปรเซสเซอร์

1.2         หน่วยความจำ

1.3         อุปกรณ์เก็บข้อมูล

1.4         อุปกรณ์รับข้อมูล/แสดงผล

 


 

 

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะช่วยในการแก้ปัญหาจากต้นจนจบ ทำงานรายละเอียดทุกขั้นตอน โปรแกรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในซีพียู หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม

 

ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

 

2.1. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ Window 95 , Windows 98 และระบบปฏิบัติการ Linux , Dos และจะมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ

 


 

หน้าจอ DOS และหน้าจอ Windows

2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูป ของบริษัทต่าง ๆ ออกมาใช้งาน เช่น Excel , Photoshop และ Oracle เป็นต้น

โปรแกรมประยุกต์มีทั้งโปรแกรมที่เขียนขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูป

 


 

หน้าจอ Excel และหน้าจอ Photoshop

                       

Peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)

คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User)

คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น

Data และ Information

ความหมายของข้อมูล

- ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ

- ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ

ความหมาของสารสนเทศ (Information)

- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ

1. ให้ความรู้

2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ

3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ

4. สามารถประเมินค่าได้

 

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

 

 

 

 

 

 

2.หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก1ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และ Peopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุผลใดจงอธิบาย

 

- ร้านขายของสะดวกซื้อ


สาเหตุที่เลือกใช้

ฐานข้อมูลเป็นแหล่งเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ เมื่อนำข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในฐานข้อมูล นำมาประมวลผลโดยการนับ รวบรวม จัดกลุ่ม จำแนก หาค่าเฉลี่ยหรือคิดเป็นร้อยละ แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นกราฟจะได้เป็นสารสนเทศ และนำสารสนเทศที่ได้ ไปใช้ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารองค์กรจะทำให้ผู้บริหารองค์กรติดสินใจได้ถูกต้องการบริการลูกค้ามีความสะดวก รวดเร็ว ลูกค้ามีความพึงพอใจองค์กรมีการพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้

ระบบฐานข้อมูลที่จัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการ เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเมื่อเอาระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้จะทำให้มีประสิทธิภาพการสอบถามข้อมูลได้คำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความต้องการการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปตามสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละคนทำให้ข้อมูลปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลที่จัดเก็บจะลดความซ้ำซ้อนลงได้และข้อมูลจะไม่ขัดแย้งกันมีความเป็นบูรณภาพ

การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นมีการเก็บเป็นอักขระตามรหัสของแต่ละอักขระอักขระตัวหนึ่งจะต้องใช้ 8 บิตในมาตรฐานรหัส ASCII แต่ถ้าเป็นมาตรฐานรหัส Unicode จะใช้16 บิต ซึ่งตัวอักขระหนึ่งตัวเรียกว่า 1 ไบต์ โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูลจะเก็บเป็นกลุ่มคำที่เก็บในลักษณะของตาราง ตารางประกอบด้วยแถวและสดมภ์ ถ้ามองระดับสดมภ์ เรียกว่า ข้อมูลระดับสดมภ์ว่า เขตข้อมูลในแต่ละแถวจะมีมากกว่าหนึ่งสดมภ์ถ้ามองในระดับแถวจะเรียกการเก็บข้อมูลแบบนี้ว่า ระเบียน จะเห็นว่าในหนึ่งตารางจะมีหลาย ๆ แถว ในระบบฐานข้อมูลเรียกตารางว่าแฟ้มข้อมูล แต่มุมมองจินตภาพเรียกว่าเอ็นทิตีปกติจะมีตารางมากกว่าหนึ่งตาราง เพราะฉะนั้นตารางหลาย ๆตารางหรือหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลเรียกว่า ฐานข้อมูล

ปัญหาในการจัดการข้อมูลในอดีต มีหลายปัญหา เช่น ความยุ่งยากในการประมวลผลแฟ้มข้อมูล เนื่องจากต้องใช้คำสั่งของภาษาระดับสูงจัดการข้อมูลโดยตรงข้อมูลไม่มีความเป็นอิสระ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล ต้องแก้ไขชุดคำสั่งด้วยแฟ้มข้อมูลมีความซ้ำซ้อนมากแฟ้มข้อมูลมีความถูกต้องของข้อมูลน้อยแฟ้มข้อมูลมีความปลอดภัยน้อย และแฟ้มข้อมูลขาดการควบคุมจากส่วนกลาง เป็นต้น

ฐานข้อมูล แบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม และความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม นอกจากนี้ฐานข้อมูลได้มีการจำลองข้อมูลเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ มีการจำลองออกเป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ การจำลองแบบลำดับชั้น การจำลองแบบเครือข่าย และการจำลองแบบเชิงสัมพันธ์

ประเภทของฐานข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แบ่งตามจำนวนผู้ใช้ มีแบบใช้เพียงคนเดียวและผู้ใช้หลายคน กับแบ่งตามขอบเขตของงาน และแบ่งตามสถานที่ตั้ง และแบ่งตามการใช้งาน เป็นต้นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มี 7 อย่างด้วยกัน ได้แก่ หน้าที่ในการจัดการพจนานุกรมข้อมูลจัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนรูปแบบ และการแสดงผลข้อมูล จัดการด้านปลอดภัยของข้อมูลควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน แต่ละกลุ่ม สำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูลจัดการด้านบูรณภาพของข้อมูลมีภาษาสำหรับจัดการข้อมูลและจัดสร้างส่วนประสานกับผู้ใช้และเป็นส่วนประสานกับผู้ใช้ในด้านการสื่อสารฐานข้อมูล

ภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล ใช้ภาษาเอสคิวแอล แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ภาษาสำหรับการนิยามข้อมูล ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล และภาษาในการควบคุม และในระบบฐานข้อมูลจะต้องสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยมีทั้งหมด 5 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร กระบวนการ และข้อมูล ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีความสำคัญทั้งนั้น ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย จะทำให้ระบบฐานข้อมูลไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

 

 

 

 

3.ให้นักศึกษาแสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบระบบสารสนเทศ

ในการออกแบบฐานข้อมูลของร้านค้าปลีก ทางกลุ่มได้ตั้ง business Model ดังนี้ ร้านค้าปลีก ที่สั่งซื้อขนมจาก supplier หลายราย มาขายในร้าน และมีการรับประกันคุณภาพสินค้า ซึ่งลูกค้าสามารถคืนสินค้าได้ภายใน 3 วัน และจะทาการเปลี่ยนสินค้าใหม่และจัดส่งให้ลูกค้าในอีก 3 วัน โดยมีกระบวนการดังนี้

- ทางร้านมีการสั่งซื้อสินค้าจาก Supplier

- ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากทางร้าน

- ทางร้านทาการส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยที่มีการรับประกันคุณภาพสินค้า ถ้าสินค้ามีการชารุด เสียหาย ลูกค้าสามารถส่งคืนทางร้าน และทางร้านจะทาการเปลี่ยนสินค้าแล้วส่งสินค้าให้ลูกค้าภายใน 3 วัน

 

สามารถเขียนแผนผังความสัมพันธ์ของกระบวนการการทางานในร้าน ได้ดังรูป

 


 

รูปที่1แสดงแผนผังความสัมพันธ์ของกระบวนการการทางานในร้าน

และแสดงเป็น Entity – relationship diagramจาก MS Access ดังรูป  รูปที่2แสดงEntity – relationship diagram โดยที่ Database นี้ประกอบด้วยข้อมูล 9 Entities ดังนี้

1.) Customer : (T_Customer) เป็นฐานข้อมูลลูกค้าของทางร้าน ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังรูป (Cidเป็น Primary Key)


 

รูปที่ 3แสดง ขอบเขตข้อมูลของลูกค้า


รูปที่ 4แสดง ตัวอย่างข้อมูลลูกค้า

2.) Order : (T_order) เป็นฐานข้อมูลใบเสร็จรับเงินในการขาย ที่ประกอบด้วย รายละเอียดต่างๆดังรูป (Oid เป็น Primary Key)


รูปที่ 5แสดงขอบเขตข้อมูลใบเสร็จรับเงิน


รูปที่ 6แสดงตัวอย่างข้อมูลใบเสร็จรับเงิน

3.) Order-detail: (T_Order_Detail) เป็นฐานข้อมูลรายละเอียดการขายสินค้า ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ

ดังรูป(O_idและ P_idเป็น Foreign Key)


 

รูปที่ 7 แสดงขอบเขตข้อมูลใบขายสินค้า


รูปที่ 8 แสดงตัวอย่างข้อมูลใบขายสินค้า

 

4.) Product : (T_Product) เป็นฐานข้อมูลสินค้าภายในร้าน ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังรูป

(P_idเป็น Primary Key)


รูปที่ 9แสดงขอบเขตข้อมูลสินค้า


รูปที่ 10แสดงตังอย่างข้อมูลสินค้า

5.) Product- Order: (T_PO) เป็นฐานข้อมูลใบรายการสั่งซื้อสินค้าจาก supplier ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังรูป(PO_ID เป็น Primary Key)


 

รูปที่ 11แสดงขอบเขตข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้า


รูปที่ 12 แสดงตัวอย่างใบสั่งซื้อสินค้า

 

6.) Product-order detail: (T_PO_detail) เป็นฐานข้อมูลรายละเอียดใบรายการสั่งซื้อสินค้าจาก supplier ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ดังรูป(O_ID และ P_idเป็น Foreign Key)


 

รูปที่ 13แสดงขอบเขตข้อมูลใบขายสินค้าจาก supplier


รูปที่ 14 แสดงตัวอย่างใบขายสินค้าจาก supplier

7.) Supplier : (T_suppliers) เป็นฐานข้อมูลของ supplier ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังรูป

(Sup_idเป็น Primary Key)


รูปที่ 15แสดงขอบเขตข้อมูลของ supplier

               รูปที่ 16แสดงตัวอย่างข้อมูลของ supplier

8.) Claim : (T_claim) เป็นฐานข้อมูลใบส่งคืนสินค้าชารุด ที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ดังรูป

(Claim_idเป็น Primary Key)


รูปที่ 17แสดงขอบเขตข้อมูลใบส่งคืนสินค้าชารุด


รูปที่ 18แสดงตัวอย่างข้อมูลใบส่งคืนสินค้าชารุด

 

9.) Claim detail: (T_Claim_detail) เป็นฐานข้อมูลรายละเอียดใบส่งคืนสินค้าที่ชารุด ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังรูป (O_idและ P_idเป็น Foreign Key)


 

รูปที่ 19 แสดงขอบเขตข้อมูลรายละเอียดใบส่งคืนสินค้าที่ชารุด


รูปที่ 20แสดงตัวอย่างข้อมูลรายละเอียดใบส่งคืนสินค้าที่ชารุด

ความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity Relationship)

ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายใน Database นี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.) One to Many : ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น

- ความสัมพันธ์ระหว่าง Customer กับ Order: ลูกค้าหนึ่งคนสามารถสั่งสินค้าได้หลายใบสั่งสินค้า

- ความสัมพันธ์ระหว่าง Product-order กับ Supplier : Supplier หนึ่งรายสามารถส่งของให้เราได้หลายชนิดสินค้า

 

2.) Many to Many : ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น

- ความสัมพันธ์ระหว่าง Order กับ Product : ใบเสร็จรับเงินหนึ่งใบสามารถมีได้หลายชนิดสินค้า และ สินค้าหนึ่งชนิดสามารถอยู่ในใบเสร็จรับเงินหลายใบ

- ความสัมพันธ์ระหว่าง Product กับ Product-order : สินค้าหนึ่งชนิดสามารถสั่งในใบสั่งซื้อสินค้าจาก supplier ได้หลายใบ และ ใบสั่งซื้อสินค้าจาก supplier หนึ่งใบสามารถมีสินค้าได้หลายชนิด

- ความสัมพันธ์ระหว่าง Product กับ Claim :สินค้าหนึ่งชนิดสามารถส่งคืนได้หลายใบส่งคืนสินค้าชารุด และ ใบส่งคืนสินค้าชารุดหนึ่งใบสามารถมีได้หลายชนิดสินค้า

 

การสร้างฟอร์ม (Form)ช่วยในการบันทึกข้อมูล

เมื่อเป็นโปรแกรม accessจะปรากฏหน้าต่าง F_Startup ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หน้าต่างนี้จะช่วยในการบันทึกข้อมูลการขายสินค้า การสั่งซื้อ และการรับคืนสินค้าจากลูกค้าได้สะดวกมากขึ้น


รูปที่ 21แสดง หน้าต่าง F_Startup ช่วยในการบันทึกข้อมูล

1. การขายสินค้า

 

หน้าต่างนี้จะช่วยให้การบันทึกรายการขายสินค้าทาได้สะดวกมากขึ้น เริ่มต้นจากกดปุ่มในช่องลูกค้าจะปรากฏหน้าต่างแสดงรายชื่อลูกค้าที่เป็นสมาชิก เมื่อเลือกชื่อลูกค้าแล้ว โปรแกรมจะไปดึงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของลูกค้ารายนั้นทันที จากนั้นบันทึกวันที่ขายสินค้า และวันที่รับสินค้า(ระบบจะตั้งค่าเป็นวันที่ปัจจุบันโดยอัตโนมัติ)ข้อมูลนี้จะถูกบันทึกในตาราง T_Order


รูปที่ 22แสดง การบันทักรายการขายสินค้า

จากนั้นบันทึกรายละเอียดสินค้าในกรอบด้านล่าง โดยกดปุ่ม ในช่องรหัสสินค้า โปรแกรมจะไปดึงข้อมูลรหัสสินค้า และชื่อสินค้าโดยใช้คิวรี่ไปดึงข้อมูล เมื่อเลือกชื่อสินค้าแล้วจะปรากฏราคาขายขึ้นทันที จากนั้นใส่จานวนสินค้าที่ขาย โปรแกรมจะคานวณราคายอดรวมของสินค้าแต่ละรายการข้อมูลนี้จะถูกบันทึกในตาราง T_Order_detail


รูปที่ 23แสดงการบันทักรายการขายสินค้า

2. การสั่งซื้อ

 

หน้าต่างนี้จะช่วยให้การบันทึกรายการซื้อสินค้าทาได้สะดวกมากขึ้น เริ่มต้นจากกดปุ่มในช่องซัพพลายเออร์จะปรากฏหน้าต่างแสดงรายชื่อซัพพลายเออร์เมื่อเลือกชื่อซัพพลายเออร์แล้ว โปรแกรมจะไปดึงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของซัพพลายเออร์รายนั้นทันที จากนั้นบันทึกวันที่ซื้อสินค้า(ระบบจะตั้งค่าเป็นวันที่ปัจจุบันโดยอัตโนมัติ) ข้อมูลนี้จะถูกบันทึกในตาราง T_PO

จากนั้นบันทึกรายละเอียดสินค้าในกรอบด้านล่าง โดยกดปุ่ม ในช่องรหัสสินค้า โปรแกรมจะไปดึงข้อมูลรหัสสินค้า และชื่อสินค้าโดยใช้คิวรี่ไปดึงข้อมูล จากนั้นใส่จานวนสินค้าที่ซื้อ ราคาซื้อที่ได้ตกลงกันไว้ โปรแกรมจะคานวณราคายอดรวมของสินค้าแต่ละรายการข้อมูลนี้จะถูกบันทึกในตาราง T_PO_detai


รูปที่ 24แสดงการบันทักรายการซื้อสินค้า

 

3. การรับคืนสินค้า

 

เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้วไม่พอใจ หรือสินค้ามีเกิดความเสียหาย ลูกค้าสามารถนาสินค้านั้นมาคืนได้ แล้วทาการบันทึกข้อมูลในหน้าต่างบันทึกรายการรับคืนสินค้า โดยการกดปุ่ม ในช่องเลขที่ใบเสร็จรับเงิน โปรแกรมจะไปดึงข้อมูล รหัสลูกค้า ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นกดปุ่ม ในช่องชื่อสินค้าที่คืน เลือกรายการสินค้าที่ลูกค้าคืน ใส่ข้อมูลจานวนเงิน และราคาสินค้าที่รับคืน โปรแกรมจะคำนวณยอดรวมให้โดยอัตโนมัติ


รูปที่ 25แสดงการบันทักรายการรับคืนสินค้า